เว็บเกร็ดคณิตฯน่ารู้กับครูคำนวณ

ยินดีต้อนรับ...สู่เว็บเกร็ดคณิตศาสตร์น่ารู้ กับครูคำนวณ เชิญศึกษาและค้นคว้าตามความสนใจ

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

หน้าต่าง...การเีรียนรู้คณิตศาสตร์


หน้าต่าง...การเรียนรู้คณิตศาสตร์

หน้าต่างการเรียนรู้ โดย...ครูคำนวณ
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์  ครูผู้สอนคงพบกับปัญหาต่างๆ  เหล่านี้  อาทิเช่น
-          นักเรียนขาดความ
         สนใจในการเรียนการสอน
-          นักเรียนอ่อนเรื่องการจดบันทึก / การจดสาระที่สำคัญในแต่ละคาบ/วัน/
        สัปดาห์
-          นักเรียนขาดการสรุปเนื้อหาที่เป็นความคิดรวบยอดของตนเอง
-          นักเรียนไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริงของตนเองในการเรียนการสอนแต่ละคาบ/วัน/
         สัปดาห์
-          ครูขาดการสะท้อนความคิดของนักเรียนที่มีต่อครู
ดังนั้นจากปัญหาที่เกิดขึ้น  น่าจะมีวิธีการจัดการกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น  และยังผลให้นักเรียนและครูผู้สอนพบกับคำตอบต่างๆ ตามโจทย์ข้างต้น และวิธีการหนึ่งที่ได้ทดลองใช้ในการจัดการเรียนการสอน  ก็คือ  กิจกรรมการจดบันทึกลงในหน้าต่างการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ประกอบด้วยบล็อก 4 บล็อก  ดังนี้

สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้


สิ่งที่นักเรียนต้องเรียนรู้/ศึกษาเพิ่มเติม

สิ่งที่ครูผู้สอนปฏิบัติได้ยอดเยี่ยม

สิ่งที่ครูผู้สอนควรเพิ่มเติม

  
                หลังจากที่นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาต่างๆ แล้วเสร็จสิ้นแล้วในหนึ่งสัปดาห์  นักเรียนจะสรุปเนื้อหาต่างๆ  ตามกรอบของหน้าต่างการเรียนรู้คณิตศาสตร์  โดยตบแต่งสีสันตามความคิดสร้างสรรค์ให้น่าสนใจ  น่าอ่าน  และน่าติดตาม  หลังจากนั้นนักเรียนส่งผลงานให้ครูตรวจและอ่านการจดบันทึกเพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียน  และการเขียนสะท้อนความรู้สึกที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู  ซึ่งการเขียนบันทึกหน้าต่างการเรียนรู้คณิตศาสตร์นี้ในนักเรียนแต่ละคนจะบันทึกเพียง 18 แผ่น (กระดาษ A4)  เพราะจะเขียนบันทึกเฉพาะเกร็ดหรือสาระที่สำคัญในแต่ละสัปดาห์ 
  สิ่งที่ผู้เรียนได้รับ 
1)   ได้ฝึกฝนการเขียนสรุปความ
2)   รู้จักการประเมินตนเอง
3)   รับรู้/สภาพการเรียนรู้ของตนเอง                               
  สิ่งที่ครูผู้สอนได้รับ 
1)      รู้ถึงทักษะการเขียนของผู้เรียน
2)      รู้ถึงทักษะการสรุปความของผู้เรียน
3)      รับรู้ถึงความรับผิดชอบ  และความตรงต่อเวลาของเรียน 
        (การส่ง  งานตามกำหนด)
4)      รับรู้ถึงสิ่งที่ตัวครูทำได้ดี   และต้องพัฒนาให้ตรงตามความต้องการของนักเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น